คลังเก็บ

AIS ผนึก พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมพัฒนา Smart Meter ด้วยนวัตกรรม IoT สำเร็จเป็นรายแรกในไทย

 

เอไอเอส ผนึก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมพัฒนา IoT Smart Meterนวัตกรรมมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะบนโครงข่าย NBIoT สำเร็จ พร้อมนำไปให้บริการจริงเป็นรายแรกในไทย

AIS

นางสาวอัศนีย์ วิภาตเวทย์ หัวหน้าส่วนงานผลิตภัณฑ์ลูกค้าองค์กรและบริการระหว่างประเทศ เอไอเอส กล่าวว่า ในฐานะผู้นำนวัตกรรม IoT ที่มีความแข็งแกร่งทั้งด้าน Platform และเครือข่าย NBIoT , eMTC ซึ่งครอบคลุมแล้วทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ

เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ร่วมพัฒนานวัตกรรม IoT Smart Meter ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยนำมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ มาผสมผสานเข้ากับอุปกรณ์ IoT ที่ทำงานบนเครือข่าย NBIoT เพื่อประยุกต์ใช้งานโครงข่ายดิจิทัลกับการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid)

ทำให้เกิดการจัดสรรพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนคอยจดมิเตอร์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ IoT มีอายุการใช้งานยาวนานอุปกรณ์สามารถสื่อสารกับเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าIoT Smart Meter จะอยู่ในอาคาร รวมถึงสามารถตรวจสอบและควบคุมผ่านระบบ Cloud และระบบ Web Portal ได้อย่างสะดวกและง่ายดาย

จึงถือเป็นครั้งแรกของไทยที่นำเอาโครงข่าย NBIoT มาเพิ่มศักยภาพการให้บริการของระบบสาธารณูปโภคได้สำเร็จ ตอกย้ำความเป็นผู้นำของเอไอเอสในฐานะผู้นำนวัตกรรม IoT อันดับ 1 ของประเทศ โดย IoT Smart Meter พร้อมให้บริการแก่หน่วยงานรัฐที่ต้องบริหารจัดการไฟฟ้า เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการประชาชนต่อไป

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ พิรักษ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการ Smart Grid Technology Research Center บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน กล่าวว่า เทคโนโลยีสื่อสาร NBIoT มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือในการรับส่งข้อมูล ของมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงข่ายสื่อสารสำหรับ Smart Grid เนื่องจากใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่แล้วของโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เช่น ความถี่คลื่นวิทยุที่ได้รับการคุ้มครองตามกฏหมาย และ สถานีฐานที่ครอบคลุมทั่วประเทศ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อภาครัฐวิสาหกิจในการลดต้นทุนในการเป็นเจ้าของ (Total Cost of Ownership) ในระบบ Advanced Metering Infrastructure (AMI) ต่อไป

ในก้าวต่อไปเป็นเรื่องของการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาวิเคราะห์ (Big Data Analytics) เพื่อใช้ในการลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าทั้งแบบ Technical และ Nontechnical Losses อีกทั้งการนำข้อมูลพลังงานที่ได้แบบ realtime ในการซื้อขายไฟฟ้าเสรีผ่านเทคโนโลยีBlock Chain อาทิเช่น การซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Roof เป็นต้น

โดยความร่วมมือกับเอไอเอสในการทดลองนำนวัตกรรมเครือข่าย IoT มาเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานรับส่งข้อมูลของมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะในครั้งนี้ ประสบสำเร็จด้วยดี และพร้อมจะให้หน่วยงานรัฐที่ต้องบริหารจัดการไฟฟ้านำไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการประชาชน เชื่อมั่นว่าจะช่วยตอบโจทย์การบริหารจัดการไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศได้อย่างแน่นอน